**เออีซี...มุมมอง สัญญาณมิติใหม่ PDF พิมพ์
เขียนโดย VRP   

 ดูเหมือนว่าคนไทยฝันหวานกับตลาด เออีซี (AEC : Asean Economic Community) และภาครัฐบาลก็ปลุกกระแสลงสู่ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ว่า เศรษฐกิจของไทยจะเติบโต และได้ประโยชน์จากการรวมเป็นสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

                ในหลายปัจจัยหากเราคำนวณ ผลได้-ผลเสีย จากสถิติข้อมูลบ้างก็จะเป็นการเปิดมุมมองที่ดีในอีก“มิติ” หนึ่ง  ประเทศไทยพึงพิงการส่งออกตลาดต่างประเทศกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ก่อนๆ เราไม่ได้ให้ความสำคัญตลาดเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มากนัก ปัจจุบันตลาดเหล่านี้มีความน่าสนใจกว่า ยุโรป และอเมริกา และอาจมีความสำคัญมากกว่า “ความเป็นตลาดการค้าชายแดนเสียอีก”

                แต่อีกมุมมองหนึ่งอนาคตข้างหน้าของไทยในตลาด เออีซี ในระยะยาว ต่อฐานเศรษฐกิจบ้านเรา จากการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุด พบว่า ไทยมีประชากร 64 ล้านคน (ไม่ใช่ 67 ล้านคน) และหากถึงปี พ.ศ. 2567 ไทยจะมีประชากร 66 ล้านคน โดยประมาณ หลังจากนั้นจะมีอัตราการเพิ่มประชากรช้าลง

                ข้อมูลจากสถิติของสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ระบุ ปี 2553 ไทยมีคนวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในสัดส่วนสูงสุด 67.03 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงเหลือ 62.46 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2567 จะมีประชากรอายุน้อยกว่า 15 ปี คิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์

                โครงสร้างประชากร มีส่วนสำคัญมากต่อการพัฒนาด้านการตลาด ด้านแรงงาน ลดลงโดยเฉพาะวิกฤติแรงงานไทยหาคนทำงานยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ ค่าแรงแพงแถมไม่มีฝีมือ

                ในมุมมองผู้ประกอบการต้องดูผลกระทบต่อการใช้แรงงาน ที่จำนวน เด็กน้อยลง แต่จำนวนคนแก่เพิ่มมากขึ้น การออมเงินของครัวเรือน ปี 2567 คิดเป็น 15 % ถือว่าเป็นอัตราที่สูง เนื่องจากมีอัตราเฉลี่ยอายุขัยผู้หญิงอยู่ที่ 78 ปี ผู้ชายเฉลี่ยอายุขัย 70 ปี ฉะนั้นต้องมีเงินออมสำหรับเลี้ยงดูอีกหลายสิบปี

                ต้องยอมรับว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การกระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคภายในประเทศคงไม่ได้ผลมากนัก.......ตัวอย่าง เช่น รัฐบาลญี่ปุ่นแจกเงินให้ประชาชน แต่คนก็ไม่บริโภค เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย (คนญี่ปุ่น เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะเชียงใหม่.......)

                ในฐานะประเทศไทยใช้สูตรการพัฒนา ทางเศรษฐกิจแบบ “ประชานิยม” เราจะเอาอะไรมาเป็น “โมเดล” และหาทางออก กรณีอย่าง ประเทศ กรีซ ภาคเอกชนอ่อนแอ ธุรกิจอ่อนแอ ประชาชนอ่อนแอ เพลิดเพลินกับการดูแลจากรัฐบาล ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่มีเงิน เก็บภาษีจากภาคธุรกิจเอกชนไม่ได้ แถมรัฐบาลยังใช้จ่ายเงินเกินตัว กู้หมดหน้าตัก กลุ่ม สหภาพยุโรป หรือ ไอ เอ็ม เอฟ ต้องหามาตรการต่างๆ

                หากเราไม่อยากให้ไทยเป็นเหมือน กรีซ โมเดลไทย เราต้องทำตรงข้ามเช่น ส่งเสริมภาคประชาชนเข้มแข็ง เอกชนเกิดการแข่งขัน (ไม่ใช่ผูกขาด) ครอบครัวมีวินัยทางการเงิน ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเพลิดเพลินจากเงินอนาคต ฯลฯ ทุกคนต้องช่วยกันดูแลกันเองให้ดี หรือจะใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่น่าแปลก.........

                ต้องยอมรับว่าทุกรัฐบาลต่างใช้นโยบายประชานิยมทุกพรรค ที่สำคัญคุณภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องสนับสนุนภาคเอกชนให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง

                ภาพของตลาดเศรษฐกิจประชากร เออีซี 600 ล้านคน คือเป้าหมายของการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้ไทยจะได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับมุมมอง โดยเฉพาะไทยมีทรัพยากรเหลือน้อย ผู้สูงวัยมากกว่าเด็ก ค่าแรงแพง(ไม่มีฝีมือ) นักลงทุนหนีไปลงทุนใน ลาว พม่า เวียดนาม โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มีประชากร 200 ล้านคน ด้านการตลาด ค่าจ้างแรงงาน สัมพันธ์กับตลาด และการลงทุน ส่วนจีนตลาดนอกอาเซียนมีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน เป็นอันดับ 2 ของโลก ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ร่ำรวย แต่ด้วยการบริหารจัดการ ทำให้มีการกระตุ้นผู้บริโภค จึงถือเป็นตลาดใหญ่

                ต้องยอมรับว่าบริษัทต่างชาติหนีไปลงทุนที่อื่น เป็นธรรมชาติของการลงทุน ที่มองทะลุทะลวงอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยเติบโตเพราะภาคเอกชนแข็งแรง.....ด้วยตัวเอง....จึงขอฝากวิงวอนทุกรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ช่วยกันปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคครัวเรือน สู่การแข่งขันที่ยั่งยืนในตลาด ....ด้วยคุณภาพ....มากกว่าปริมาณ 

                                                                                                                                                                                                                           คน  บนดอย

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com
 
**เออีซี...มุมมอง สัญญาณมิติใหม่ PDF พิมพ์
เขียนโดย VRP   

          ดูเหมือนว่าคนไทยฝันหวานกับตลาด เออีซี (AEC : Asean Economic Community) และภาครัฐบาลก็ปลุกกระแสลงสู่ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ว่า เศรษฐกิจของไทยจะเติบโต และได้ประโยชน์จากการรวมเป็นสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในหลายปัจจัยหากเราคำนวณ ผลได้-ผลเสีย จากสถิติข้อมูลบ้างก็จะเป็นการเปิดมุมมองที่ดีในอีก “มิติ” หนึ่ง ประเทศไทยพึงพิงการส่งออกตลาดต่างประเทศกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ก่อนๆ เราไม่ได้ให้ความสำคัญตลาดเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มากนัก ปัจจุบันตลาดเหล่านี้มีความน่าสนใจกว่า ยุโรป และอเมริกา และอาจมีความสำคัญมากกว่า “ความเป็นตลาดการค้าชายแดนเสียอีก” แต่อีกมุมมองหนึ่งอนาคตข้างหน้าของไทยในตลาด เออีซี ในระยะยาว ต่อฐานเศรษฐกิจบ้านเรา จากการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุด พบว่าไทยมีประชากร 64 ล้านคน (ไม่ใช่ 67 ล้านคน) และหากถึงปี พ.ศ. 2567 ไทยจะมีประชากร 66 ล้านคน โดยประมาณ หลังจากนั้นจะมีอัตราการเพิ่มประชากรช้าลง ข้อมูลจากสถิติของสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ระบุ ปี 2553 ไทยมีคนวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในสัดส่วนสูงสุด 67.03 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงเหลือ 62.46 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2567 จะมีประชากรอายุน้อยกว่า 15 ปี คิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างประชากร มีส่วนสำคัญมากต่อการพัฒนาด้านการตลาด ด้านแรงงาน ลดลงโดยเฉพาะวิกฤติแรงงานไทยหาคนทำงานยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ ค่าแรงแพงแถมไม่มีฝีมือ ในมุมมองผู้ประกอบการต้องดูผลกระทบต่อการใช้แรงงาน ที่จำนวนเด็กน้อยลง แต่จำนวนคนแก่เพิ่มมากขึ้น การออมเงินของครัวเรือน ปี 2567 คิดเป็น 15 % ถือว่าเป็นอัตราที่สูง เนื่องจากมีอัตราเฉลี่ยอายุขัยผู้หญิงอยู่ที่ 78 ปี ผู้ชายเฉลี่ยอายุขัย 70 ปี ฉะนั้นต้องมีเงินออมสำหรับเลี้ยงดูอีกหลายสิบปี ต้องยอมรับว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย การกระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคภายในประเทศคงไม่ได้ผลมากนัก...ตัวอย่าง เช่น รัฐบาลญี่ปุ่นแจกเงินให้ประชาชน แต่คนก็ไม่บริโภค เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย (คนญี่ปุ่น เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะเชียงใหม่...) ในฐานะประเทศไทยใช้สูตรการพัฒนา ทางเศรษฐกิจแบบ “ประชานิยม” เราจะเอาอะไรมาเป็น “โมเดล” และหาทางออก กรณีอย่าง ประเทศ กรีซ ภาคเอกชนอ่อนแอ ธุรกิจอ่อนแอ ประชาชนอ่อนแอ เพลิดเพลินกับการดูแลจากรัฐบาล ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ไม่มีเงิน เก็บภาษีจากภาคธุรกิจเอกชนไม่ได้ แถมรัฐบาลยังใช้จ่ายเงินเกินตัว กู้หมดหน้าตัก กลุ่มสหภาพยุโรป หรือ ไอ เอ็มเอฟ ต้องหามาตรการต่างๆ หากเราไม่อยากให้ไทยเป็นเหมือน กรีซ โมเดลไทย เราต้องทำตรงข้ามเช่น ส่งเสริมภาคประชาชนเข้มแข็ง เอกชนเกิดการแข่งขัน (ไม่ใช่ผูกขาด) ครอบครัวมีวินัยทางการเงิน ไม่สุรุ่ยสุร่ายใช้จ่ายเพลิดเพลินจากเงินอนาคต ฯลฯ ทุกคนต้องช่วยกันดูแลกันเองให้ดี หรือจะใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่น่าแปลก...ต้องยอมรับว่าทุกรัฐบาลต่างใช้นโยบายประชานิยมทุกพรรค ที่สำคัญคุณภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องสนับสนุนภาคเอกชนให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง ภาพของตลาดเศรษฐกิจประชากร เออีซี 600 ล้านคน คือเป้าหมายของการลงทุน โครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้ไทยจะได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับมุมมอง โดยเฉพาะไทยมีทรัพยากรเหลือน้อย ผู้สูงวัยมากกว่าเด็ก ค่าแรงแพง(ไม่มีฝีมือ) นักลงทุนหนีไปลงทุนใน ลาว พม่า เวียดนาม โดยเฉพาะ อินโดนีเซีย มีประชากร 200 ล้านคน ด้านการตลาด ค่าจ้างแรงงาน สัมพันธ์กับตลาด และการลงทุน ส่วนจีนตลาดนอกอาเซียนมีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน เป็นอันดับ 2 ของโลก ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ร่ำรวย แต่ด้วยการบริหารจัดการ ทำให้มีการกระตุ้นผู้บริโภค จึงถือเป็นตลาดใหญ่ ต้องยอมรับว่าบริษัทต่างชาติหนีไปลงทุนที่อื่น เป็นธรรมชาติของการลงทุน ที่มองทะลุทะลวงอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยเติบโตเพราะภาคเอกชนแข็งแรง...ด้วยตัวเอง....จึงขอฝากวิงวอนทุกรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง ช่วยกันปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคครัวเรือน สู่การแข่งขันที่ยั่งยืนในตลาด...ด้วยคุณภาพ....มากกว่าปริมาณ

คน บนดอย

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com
 
**อนาคตของชาติ...อยู่ที่การมองไปข้างหน้าของทุกคน PDF พิมพ์
เขียนโดย VRP   

         ประเทศของเราได้เดินหน้ามาถึงทางแยกที่สำคัญ ภายหลังการยึดอำนาจของ คสช. อย่างน้อยที่สุด เราสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียชีวิตจากเหตุแห่งความรุนแรงลงไปได้ และทิ้งปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่หยั่งรากฝังลึก ฉะนั้นการจะแก้ปมด้อยปัญหานั้น มีเพียงวิถีทางเดียวคือการเปิดประตูสู่ความจริงให้มากที่สุด เพื่อสลายความคิดอคติที่คลาดเคลื่อน

          คสช. ควรเปิดใจให้กว้างขวาง กับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างชอบธรรม ในทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นภาคชุมชน ภาคสาธารณะ ภาคธุรกิจ ฯลฯ หาใช่ใช้อำนาจนำหน้าปิดตาย การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เพราะการขีดเส้นสร้างข้อจำกัด และล้อมกรอบการทำงานของสื่อมวลชน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมิใช่เส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายในภารกิจสำคัญ

          ระหว่าง คสช. และสื่อมวลชน ต่างทำหน้าที่เปรียบเสมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ต่างคนต่างทำหน้าที่ไปในวิถีทางแห่งตน ภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย และสิทธิเสรีภาพ เพื่อประโยชน์แห่งส่วนรวม และอนาคตของประเทศชาติ หาได้อยู่ในกำมือของใครแต่เพียงฝ่ายเดียว

         การตั้งใจปกปิดข้อมูล ข่าวสาร การรับรู้ของประชาชน ภายใต้การสื่อสารแห่งยุคดิจิตอล ที่สามารถรับรู้ข้อมูลส่งถึงกันได้ภายในเสี้ยววินาที กับความเป็นไปของโลกยุคออนไลน์ สิทธิเสรีภาพในการรับรู้ขั้นพื้นฐานความเป็นสากล เราไม่ควรย้อนหลังลงคลองสู่วัฏจักร การปกครองของทหารเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

        ในอนาคตของประเทศในวันข้างหน้า อยู่ที่การมองไปข้างหน้าด้วยกันของทุกฝ่ายรวมทั้งการเปิดกว้างให้สื่อมวลชนได้แสวงหาความจริงในด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมประเพณีสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ในระดับเริ่มจาก หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ และอาเซียน ฯลฯ  เพื่อที่ว่าจะเป็นรากฐานสำคัญในการผลักดันภารกิจปฏิรูปประเทศ ให้สำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคตร่วมกันของทุกฝ่าย

 

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com
 
**แรงงานอาเซียน….แรงงานอนุภูมิลุ่มน้ำโขง PDF พิมพ์
เขียนโดย VRP   

แรงงานอาเซียน….แรงงานอนุภูมิลุ่มน้ำโขง

            ควรผลักดันให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ทำสัญญากับแรงงานข้ามชาติโดยตรง

                                ปัญหาการขาดแรงงานในภาคธุรกิจการค้าขนาดเล็กขนาดย่อม รวมทั้งปัญหาแรงงานภาคการเกษตรหนึ่งในปัญหาของผู้ประกอบการทุกแขนง เพราะเหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 1 ปีที่ 10 ประเทศ จะร่วมกันเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่า ด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และบริการ อย่างเสรีโดยไม่มีภาระภาษีเป็นอุปสรรคต่อไป และในขณะเดียวกัน การก้าวเข้าสู่ AEC จึงเป็นทั้งโอกาส และความท้าทายในหลายๆ ด้านของแต่ละประเทศ และอาจมีความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบเพราะปัจจัยต่างๆ โดยปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “แรงงาน”

                                การแข่งขันทางการค้า ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่ประสบปัญหามีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย จำนวนมาก สาเหตุมาจากความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจเติบโตของไทยก้าวหน้ากว่าในหลายประเทศในอาเซียน การใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำประเทศไทย 300 บาท ต่อวัน สร้างปัญหาพอสมควรในระดับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดย่อม ที่ใช้คนท้องถิ่นในชุมชน และอัตราค่าจ้างนี้ ทำให้แรงงานท้องถิ่นไหลเข้าสู่เมืองใหญ่ๆไม่ว่า เชียงใหม่  กรุงเทพฯ  ที่การเจริญเติบโตของธุรกิจยังต้องการแรงงาน

                                สำหรับประเทศไทย ใช้อัตราแรงงานขั้นต่ำในประเทศ 300 บาท ต่อวัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของประเทศอาเซียน ดังนี้ มาเลเซีย อยู่ที่ประมาณ 318 บาท ต่อวัน อินโดนีเซีย ประมาณ 240 บาท ต่อวัน กัมพูชา มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเหลืออยู่ที่ประมาณ 65 บาท ต่อวัน สปป.ลาว มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 108 บาท ต่อวัน พม่ามีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 18-20 บาท ต่อวัน และเวียดนามมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 103 บาท ต่อวัน

                                ฉะนั้นการหลั่งไหลแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาในประเทศไทย ด้วยค่าแรงที่สูงกว่าในภาคการเกษตรประมาณ 200-250 บาทต่อวัน ภาคการก่อสร้างเฉลี่ย 200-300 บาทต่อวัน ภาคบริการ เช่น ร้านอาหารเฉลี่ย 200 บาท ต่อวันขึ้นไป (หรือขึ้นอยู่กับความสามารถของแรงงาน ที่อาจมีค่าจ้างสูงกว่านี้)

                                การก้าวเข้าสู่อาเซียนปี 2558 เป็นโอกาสท้าทายของผู้ประกอบการทุกแขนง เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้แรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมายกลายเป็นแรงงานถูกกฎหมาย โดยเฉพาะกระบวนการปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างชาติ ด้วยการลดระเบียบกับขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง เพื่อช่วยแรงงานต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลของทุกประเทศในอาเซียน ควรผลักดันให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ทำสัญญาจ้าง กับแรงงานข้ามชาติโดยตรง เพื่อลดกระบวนการนายหน้า ลดปัญหาแรงงานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็จะลดน้อยลง อีกทั้งจะทำให้ปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมลดน้อยลงไปด้วย

โดย.....วีอาร์พี ทัวร์ แอนด์ ทราเวล

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com
 
**บินตรง....เชียงใหม่... เกาหลี...คิดได้อะไร...มากกว่าได้...ไป PDF พิมพ์
เขียนโดย Administrator   

บินตรง

เชียงใหม่..... เกาหลี......คิดได้อะไร ..มากกว่าได้....ไป

 

หลายคนตั้งคำถามว่าทำไม เด็ก หรือ เยาวชนรุ่นใหม่ ใฝ่ฝัน อยากไปเที่ยว  เกาหลี ญี่ปุ่น หรือสิงคโปร์ ฯลฯทั้งๆ ที่ผู้ใหญ่หลายคนได้มีโอกาสไป....กลับบอก เกาหลี ไม่มีอะไร

                ในสังคมปัจจุบัน...ผู้คนสามารถเปิดมุมมองของตนเองได้อย่างอิสระ เมื่อต่างคนต่างคนคิด...วัตถุชิ้นหนึ่งจึงถูกประดิษฐ์และแปรเปลี่ยนไปตามจินตนาการของผู้สร้าง สิ่งสำคัญที่จะทำให้คนคนหนึ่ง หรือประเทศหนึ่งล้ำหน้าคนอื่นล้ำ ประเทศอื่นๆ เสมอก็คือ ความคิดสร้างสรรค์

               หลายแง่มุมของการ คิดสร้างสรรค์ หลายคนคงนึกถึงการใส่ ไอเดีย ลงงาน ศิลปะ ผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ...ในทุกๆ วัน ไอเดีย สร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้มากมายไม่จำกัด โดยแทรกซึมเข้าไปอยู่ในส่วนต่างๆ ขององค์กร  ธุรกิจ  สถานที่ สิ่งของ กระทั่งตัวบุคคล ซึ่งได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้หลายองค์กรมีความโดดเด่น แตกต่าง และก้าวไปสู่ เป้าหมายได้.....

                หลายประเทศสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาได้ไม่ใช่จากเพียงต้นทุนทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสืบเนื่องมาจากสั่งสม คน  อันเป็น แหล่งสร้างงานและรายได้ ยิ่งองค์กรใดสั่งสมคนสร้างสรรค์ได้มากเท่าไร ยิ่งหมายถึงการสร้างผลกำไร จากความแตกต่างให้มากข้นเท่านั้น

                เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ( Creative Economy ) ถือว่าประเทศเกาหลีใต้ซึ่งใช้ แนวคิด Creative Economy ประเทศแรกๆ ในเอเชีย  จนก่อเกิดผลเด่นชัดเป็นรูปธรรม เช่น การส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรมเกาหลีไปทั่วโลก ผ่านสื่อหลากหลายประเทศ ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์ รายการทีวี เพลงนักร้อง แฟชั่น ศิลปะการแสดง สู่การท่องเที่ยว

                เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้ องค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และนวัตกรรม ที่เกาหลีใต้ ใช้ต้นทุนต่ำสุด แต่ได้กำไรสูงสุด ได้อย่างเหลือเชื่อเกือบจะทุกๆ ด้าน

                บินตรง เชียงใหม่ ไปเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ  คำตอบที่ผู้ใหญ่ยังมองไม่เห็นความใฝ่ฝันของเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่....เกาหลีใต้  แง่มุมของการสร้างสรรค์ เช่น คนสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ มวลมหาชนสร้างสรรค์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รัฐบาลสร้างสรรค์

            บินตรง เชียงใหม่ เกาหลี คิดได้อะไร.......มากกว่าได้ไป..........

 

 

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com
 
<< เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 3 4 5 ถัดไป > สุดท้าย >>

JPAGE_CURRENT_OF_TOTAL

ข่าวสาร Facebook

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้201
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้851
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้4580
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว11705
mod_vvisit_counterเดือนนี้24619
mod_vvisit_counterทั้งหมด2631321

มีผู้ใช้งาน: 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
ไอพี: 18.190.159.10